
ข้อมูลเที่ยวประเทศโครเอเชีย รู้จักโครเอเชีย ก่อนเดินทาง

ข้อมูลเที่ยวประเทศโครเอเชีย รู้จักโครเอเชีย ก่อนเดินทาง
-ที่ตั้ง อยู่ระหว่างยุโรปกลาง และเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณริมฝั่งตะวันออกของทะเลเอเดรียติก
-พื้นที่ 56,542 ตารางกิโลเมตร
-เมืองหลวง กรุงซาเกร็บ (Zagreb)
- ประชากร 4.4 ล้านคน ประกอบด้วยชาวโครอัท (89.6%) ชาวเซิร์บ (4.54%) และอื่นๆ ได้แก่ ชาวบอสเนีย ฮังกาเรียน สโลวีน เช็ค (5.9%)
- ภูมิอากาศ แบบเมดิเตอร์เรเนียนแถบชายฝั่งทะเลเอเดรียติก และภูมิอากาศเทือกเขาบริเวณตอนกลาง ของประเทศ อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 14-27 องศาเซลเซียส
- ภาษา โครเอเชียนเป็นภาษาราชการ ภาษาอื่นๆ ที่ใช้พูดกันโดยชนกลุ่มน้อยได้แก่ เซอร์เบียน ฮังกาเรีน อิตาเลียน เยอรมัน อังกฤษ
- ศาสนา โรมันคาทอลิก 85.8% ออโธด๊อกซ์ 3.2% มุสลิม 11%
- หน่วยเงินตรา คูน่า (Kuna) อัตราแลกเปลี่ยนโดยประมาณ 4.66 คูน่า เท่ากับประมาณ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 50.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2550)
- รายได้ประชาชาติต่อหัว 11,271 ดอลล่าร์สหรัฐ (2550)
- การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.4 (2550)
- ระบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว เรียกว่า Sabor มีสมาชิก 152 คน ประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยมาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้แต่งตั้ง คณะรัฐบาล มีวาระ 5 ปี ปัจจุบัน คือนาย Stjepan Mesic ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 ( ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 เมื่อเดือนมกราคม 2558) รัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก ระวังพรรค Croatia Democratic Union และพรรค Democratic Centre มี 19 จากเสียงทั้งหมด 152 เสียง
การเมืองการปกครองประเทศโครเอเชีย
1. โครเอเชียเดิมเป็นหนึ่งในหกสาธารณรัฐ ซึ่งประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยม ยูโกสลาเวีย (Socialist Federal Republic of Yugoslavia หรือ SFRY) อยู่ภายใต้การนำของจอมพลติโต ชาวโครอัท ซึ่งสามารถควบคุมสถานการณ์ความแตกแยกระหว่างเชื้อชาติไว้ได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามภายหลังการอสัญกรรมของจอมพลปิโตในปี 2523 ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชของสาธารณรัฐต่างๆ ในยูโกสลาเวียเริ่มมีความรุนแรงขึ้น โครเอเชียจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2533 โดยประธานาธิบดี Franjo Tudjman ได้รับเลือกตั้ง และต่อมาก็ได้ประกาศเอกราช SFRY ซึ่งทำให้เกิดการสู้รบระหว่างโครเอเชียกับชาวเซิร์บในโครเอเชียซึ่งมียูโกสลาเวียหนุนหลัง และยุติลงเมื่อผู้นำโครเอเชีย เซอร์เบีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ได้ลงนามข้อตกลงสันติภาพเดย์ตัน ( Dayton Peace Accord ) เมื่อปี 25382. ภายหลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดี Tudjman ในปี ๒๕๔๒ นาย Sijepan Mesic ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี คนใหม่ซึ่งเป็นผู้นําเสรีนิยมประชาธิปไตยรุ่นใหม่ ทําให้โครเอเชียพัฒนาไปอย่างมาก โดยได้ปรับเปลียนเป้าหมาย และนโยบายจากเดิมที่ให้ความสําคัญกับการต่อสู้เพื่อผนวกดินแดนบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา ซึ่งมีชาวโครอัทอาศัยอยู่จํานวนมากเป็นการให้ความสําคัญกับการยุติความขัดแย้งกับบอสเนียฯ การปรับความสัมพันธ์กับประเทศยุโรปตะวันตก และการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ทั้งนี เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๘ ประธานาธิบดี Stjepan Mesic ได้รับเลือกตังเป็นประธานาธิบดี สมัยที่ ๒ และจะดํารงตําแหน่งจนถึงปี ๒๕๕๓
3. เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๐ โครเอเชียได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาทัวประเทศ ผลปรากฏว่า พรรค Croatian Democratic Union(HDZ)ต่อมาในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๑ รัฐสภาโครเอเชียได้ลงมติให้ความเห็นชอบต์อรัฐบาลชุดใหม่ที่มีนาย Ivo Sanader เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยทีสอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดนี้ประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรี ๔ คน และรัฐมนตรี ๑๕ คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คือ นาย Gordon Jandrokovic ซึ่งเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ และเป็นดาวรุ่งของพรรค HDZ
4. นโยบายของรัฐบาลสมัยที่สองของนาย Sanader ยังคงดำเนินนโยบายสายกลาง ค่อนไปทางอนุรักษ์นิยม ด้านการต่างประเทศส่งเสริมการมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา และมุ่งให้โครเอเชียเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) โดยหวังว่าจะสามารถบรรลุผลสําเร็จเข้าเป็นสมาชิก EU ได้ในปี 2553 สัาหรับภาระสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมภายในประเทศคือการพัฒนาที่รวดเร็ว ให้ความสนใจอย่างจริงจังต่อปัญหาสังคม ปฏิรูประบบศาลยุติธรรม และระบบบริหารให้มีความสมบูร์ และขจัดการฉ้อราษฏร์บังหลวง